วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

เรื่องแบตเตอรี่กับการชาร์จแบต

วันนี้ขอยกประเด็นเรื่องแบตเตอรี่มาเล่าสู่กันฟังหน่อยดีกว่า เห็นมีข่าวเรื่องแบตระเบิดเกิดขึ้นมาบ้างในช่วงที่ผ่านมา และ พวกเราเองก็ใช้ PDA ซึ่งมันก็ต้องเกี่ยวข้องกับการชาร์จแบตอยู่แล้วครับ
ปัจจุบันแบตเตอรี่มีการพัฒนามาเรื่อยๆจากแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วทิ้งจนกลายมาเป็นแบตเตอรี่แบบชาร์จได้ ซึ่งมีการพัฒนาเริ่มแรกจากแบตเตอรี่ที่เรียกกันว่า




ถ่าน
Ni-Cd หรือถ่าน นิเกิ้ลแค๊ดเมี่ยม ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นถ่านชาร์จที่ใช้กันมาตั้งแต่ในยุคแรกๆจนถึงปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่ ซึ่งวิวัฒนาการก็มีการปรับเปลี่ยนมา จนมาถึงถ่านที่เรียกว่า ถ่าน Ni-MH นิเกิ้ล เมทัล ไฮดราย และเรื่อยมาจนถึงถ่าน Lithium-polymer ซึ่งนิยมใช้กันมากในโทรศัพท์มือถือและ PDA
ในปัจจุบัน เราลองมาดูรายละเอียดและคุณสมบัติของถ่านแต่ละชนิดกันหน่อยนะครับ



1.
ถ่าน Ni-Cd เป็นถ่านที่มีราคาถูกที่สุด และให้กระแสไฟที่แรง แต่มีข้อเสียคือถ้าใช้ไม่หมดแล้วชาร์จ ถ่านจะจดจำความจุที่ยังไม่หมดไว้ ทำให้ความจุของถ่านจะลดลง หรือเรียกว่า Memory Effect ซึ่งถ่านประเภทนี้ในแต่ละ Cell ถ่านจะมไฟประมาณ 1.2 โวลท์ ซึ่งหากใช้ไม่หมดก็ควรจะทำการ Discharge เสียก่อน ก่อนที่จะชาร์จไฟเข้าไปใหม่เพื่อยืดอายุการใช้งานของถ่าน แต่อย่างไรก็ตามการ Discharge ถ่านประเภท Ni-Cd นี้ใช่ว่าจะเอาไฟออกให้หมดจนเกลี้ยงนะครับ เราจะ Discharge ออกจนเหลือไฟเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 0.9 โวลท์ ต่อ cell เพื่อป้องกันถ่านเกิดการเสียหาย สำหรับการจะ Discharge ถ่าน Ni-Cd นั้นก็สามารถทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมใช้กันมากก็คือใช้หลอดไฟรถยนต์ มาเป็นตัว Discharge โดยจะต้องมีวงจรเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ไฟมันออกจนหมดเกลี้ยง
ตามสเปคโดยทั่วไปถ่านประเภทนี้จะสามารถ ชาร์จได้ประมาณ
500-2200 ครั้ง และหากชาร์จทิ้งเอาไว้นานๆ ถ่านชนิดนี้ไฟจะค่อยๆหมดลงไปเองหรือที่เขาเรียกกันว่า Self Discharge ซึ่งจะตกอยู่ประมาณ เดือนละ 15% ครับ แต่สำหรับผู้ใช้ PDA ที่จำเป็นต้องใช้ถ่านประเภทนี้คงเหลือน้อยเต็มที เช่นผู้ที่ใช้ Palm รุ่นเมื่อสักสี่ห้าปีที่แล้ว อย่าง IIIx IIIe เป็นเครื่องรุ่นที่ผู้ใช้ต้องหาซื้อแบตเตอรี่มาใส่เอง



2.ถ่าน
Ni-MH หรือนิเกิ้ล เมทัล ไฮดราย ถ่านประเภทนี้จะมีลักษณะคุณสมบัติคล้ายๆกับถ่าน Ni-Cd เพียงแต่ว่ามันจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องของ Memory Effect คุณสมบัติที่ดีอีกอย่างหนึ่งในถ่านประเภท Ni-MH นี้ก็คือ เราสามารถเลือกซื้อถ่านประเภทความจุมากๆได้ง่ายกว่า Ni-Cd ซึ่งในปัจจุบันหากเป็นถ่านขนาด ถ่านก้อนกลาง ถ่านประเภท Ni-MH มีให้เลือกความจุมากถึง 3300 mAh ต่อก้อนเชียวนะครับ เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในงานบางประเภทเช่นพวก R/c หรืออุปกรณ์บังคับวิทยุ สำหรับถ่านประเภทนี้จะมีไฟประมาณ 1.2 โวลท์ ต่อก้อน แต่หากไม่ใช้นานๆถ่านจะมีการ
Self Discharge อยู่มากกว่าถ่าน Ni-Cd คือประมาณ 30% ต่อเดือน



3.ถ่านประเภทที่สามอันนี้กำลังนิยมใช้กันมากในโทรศัพท์มือถือและ
PDA ในปัจจุบัน นั่นก็คือถ่านแบบ Li-Poly หรือลิเธียมโพลีเมอร์ ซึ่งข้อดีของถ่านประเภทนี้ก็คือถ่านจะมีน้ำหนักที่เบา ให้ไฟที่แรง ไม่มีปัญหาเรื่อง Memory Effect ซึ่งหมดสามารถชาร์จได้ตามต้องการ ไฟของถ่านประเภทนี้จะอยู่ที่ประมาณ 4.2 โวลท์ เมื่อชาร์จเต็ม และหากต้องการจะ Discharge ถ่านประเภทนี้ก็ ห้าม Discharge ต่ำกว่า 3.7 โวลท์ ต่อ Cell สำหรับถ่านประเภทนี้ขอเตือนครับว่าอย่านำไปใช้กับที่ชาร์จไม่ได้มาตราฐาน เพราะหากเกิดการ Overcharge หรือชาร์จจนไฟเกิน เนื่องจากที่ชาร์จไม่มีวงจรตัดไฟเมื่อไฟเต็ม ถ่านประเภทนี้มีสิทธิ์เกิดประกายไฟ และระเบิดได้ครับ อันตรายทีเดียว สำหรับผู้ใช้ PDA ทั้งหลายก็ไม่ต้องกลัวจนเกินไปนะครับ เพราะว่าที่ชาร์จของโรงงานที่เขาให้มานั้น ทุกตัวเขาได้บรรจุจงจรตัดไฟเมื่อไฟมันเต็มเรียบร้อยแล้วครับ ดังนั้นเราจึงสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยตราบใดที่ไม่ได้ไปดัดแปลงอุปกรณ์แท่นชาร์จที่เขาให้มาโดยไม่ได้มีความรู้

การชาร์จ และการดูแล แบตเตอรี่ของ PDA



แบตเตอรี่ หรือ ถ่าน ของ PDA ในรุ่นปัจจุบันเรียกได้ว่า 100 % ของเครื่องในยุคนี้แบตเตอรี่ของเครื่องสามารถชาร์จได้ครับ และในเครื่อง Pocket PC หลายๆรุ่นในปัจจุบันแบตเตอรี่ก็สามารถถอดเปลี่ยนได้ด้วย ซึ่งส่วนมากแบตเตอรี่ที่ใช้ในเครื่อง PDA ปัจจุบันส่วนมากจะใช้แบตเตอรี่แบบ ลิเธียม ไออน และ ลิเธียมโพลิเมอร์ กันเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเราลองมาดูวิธีการดูแลแบตเตอรี่ประเภทนี้ให้อยู่กับเราได้นานๆกันดีกว่าครับ



การดูแลถ่านประเภทนี้ก็อย่าปล่อยให้ถ่านมันหมดจนเกลี้ยงนะครับเพราะว่าวงจรชาร์จจะต้องมีไฟไปเลี้ยง หากไฟหมดเกลี้ยงอาจจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมได้ เทคนิคเคล็ดลับในการชาร์จ
PDA รุ่นใหม่ที่ใช้ถ่านประเภทนี้ ก็ควรจะหมั่นชาร์จไฟนะครับ อย่าปล่อยให้ไฟหมดเยอะๆแล้วค่อยชาร์จ เพราะจะมีปัญหาเรื่องการนับ ไซเคิ้ล ของถ่าน ซึ่งหากเป็นเมืองนอกเขาจะเรียกว่า Deep Charge หรือการที่เครื่อง PDA ต้องชาร์จไฟเข้าเยอะๆจึงจะเต็ม มันจะทำให้อายุการใช้งานของถ่านสั้นลง โดยเฉลี่ยถ่าน ลิเธียมโพลีเมอร์ นั้นจะมีอายุ ไซเคิ้ล อยู่ที่ประมาณ 500-1000 ไซเคิ้ล นั่นก็หมายความว่า หากใช้ไปเยอะจนหมดแล้วชาร์จก็เท่ากับว่าเราใช้ไปหนึ่งไซเคิ้ล แต่หากใช้ไม่หมดใช้ไปเพียงนิดเดียว เช่นเพียงแค่ครึ่งเดียวแล้วชาร์จก็เท่ากับชาร์จไปเพียงแค่ครึ่งไซเคิ้ลเท่านั้น

เอาเป็นว่าว่างเมื่อไรก็หยิบเจ้า
Palm หรือ Pocket PC วางลงบนแท่นซะนะครับ ไม่ต้องกังวลว่าแบตเตอรี่จะ Overcharge เพราะหากแบตเตอรี่มันเต็มแล้ว แท่นชาร์จเขาจะตัดไฟให้อัตโนมัติ

ในกรณีที่ซื้อเครื่อง PDA ไม่ว่าจะเป็น Palm หรือ Pocket PC มาใช้สิ่งแรกที่ควรจะทำก็คืออ่านคู่มือเกี่ยวกับการชาร์จไฟให้ละเอียดเสียก่อนเพราะเป็นสิ่งที่มีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่นะครับ ผมรู้ว่าแทบจะทุกคนแม้แต่ผมเองก็ขี้เกียจจะอ่านคู่มือที่เขาให้มา แต่เอาหน่า ทนอ่านซะหน่อยนะครับก่อนการใช้งาน สำหรับการชาร์จไฟในครั้งแรกไม่ควรจะชาร์จต่ำกว่า 4 ชม หากจะมากกว่านั้นก็ไม่ว่ากันเพราะแท่นชาร์จมันมีวงจรตัดไฟเมื่อไฟเต็มอยู่แล้ว หากจะแช่ทิ้งข้ามคืนก็ไม่เป็นไรแต่ก็ไม่ได้มีผลช่วยอะไรขึ้นมา ตัวผมเองรอสี่ชั่วโมงกับเครื่องที่เพิ่งจะซื้อมาใหม่นั้นมันเป็นช่วงเวลาที่รู้สึกว่ายาวนานจัง



ไม่ควรที่จะไปดัดแปลงเครื่องชาร์จไฟของโรงงานที่เขาให้มาครับเพราะที่เขาให้มานั่นมันดีอยู่แล้ว อย่าคิดไปดัดแปลงอะไรมันเลย แบตเตอรี่ที่ใช้ก็ควรจะใช้ของที่เขาให้มา และหากเป็นเครื่องที่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ก็ไม่ควรที่จะไปถอดหรือดัดแปลงมัน นอกจากจะทำโดยช่างที่มีความรู้และความชำนาญ ซึ่งกรณีแบตเตอรี่ในเครื่อง
PDA มันเสื่อม ( รุ่นที่มีแบตอยุ่ในเครื่อง ) ก็ไม่ควรไปซื้อแบตเตอรี่มาถอดเปลี่ยนเอง ลองไปปรึกษาให้ช่างซ่อมเขาทำให้จะดีกว่านะครับ เครื่องชาร์จที่จะใช้ในการชาร์จ แบตเตอรี่แบบ ลิเธียม โพลิเมอร์นั้นจะต้องเป็นเครื่องชาร์จที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ไม่สามารถนำเครื่องชาร์จแบบธรรมดามาใช้ได้ เพราะฉะนั้นจงใช้อย่างระมัดระวังครับ !! อย่าคิดดัดแปลงเครื่องชาร์จ !

และเมื่อใช้ไปนานๆถ้ามีเวลาว่างๆก็ลองสังเกตดูซะหน่อยว่า
PDA เรามีอาการแบตเตอรี่บวมหรือไม่ ? ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยเจออาการแบตบวมกันสักเท่าไร แต่เพื่อความปลอดภัยกันแบตมันระบิด สำหรับการสังเกตในเรื่องนี้ขอยกข้อมูลของ คุณ นพพงษ์ ที่แกบอกมาให้ฟังแล้วกันว่า วิธีการสังเกตก็มีดังนี้ "
ถ้าแบตปาล์มบวม เราจะเห็นว่าหน้าจอสีเพี้ยนๆ ดำขึ้นมาเป็นบางส่วน หรือว่าฝาหลังบวม บางทีก็ทำให้หน้าจอจิ้มไม่ได้เพราะแบตบวมไปกดหน้าจออยู่ ให้สงสัยไว้ก้อนว่าแบตบวมครับ "

ใช้ PDA อย่างไรไม่ให้เปลืองแบตเตอรี่

1.ไฟในการใช้งาน ก็พยายามลดความสว่างให้อยู่ในระดับพอดี ไม่ต้องให้จ้ามาก



2.หากไม่ใช้
Bluetooth หรือ Wi-Fi ตลอดเวลาก็ควรปิดมันเสีย ไม่ควรเปิดคาไว้ครับ
3.ไม่ควรเสียบอุปกรณ์เสริมต่างๆทิ้งไว้คาเครื่อง
4. ควรตั้งการปิดหน้าจออัตโนมัติในกรณี หากไม่มีการใช้งาน ควรตั้งให้เครื่องปิดไฟหน้าจอโดยอัตโนมัติ
สำหรับ
Palm ทำได้โดย ไปที่ Pref---> Power เลือก Auto-off after เป็น 30 วินาที จนถึง 3 นาที
สำหรับ
Pocket PC ทำได้โดย ไปที่ Start ---> settings --->Power ---->แถบ Control ด้านล่าง ----> เลือกตรง Turn off device if not use for ( 1-5 นาที )
5. ลดเสียงต่างๆในเครื่อง โดยเฉพาะเสียงที่ไม่ค่อยจำเป็น เช่นเสียงการแตะหน้าจอ และเมนูต่างๆ



6. ฟังเพลง และเล่นเกมส์ ในบางครั้งเท่านั้น
7.พยายามลดการใช้ อินฟราเรด
8
. การ Sync แบบไร้สาย ผ่าน Bluetooth หรือ Wi-Fi จะทำให้เปลืองแบตเตอรี่มากทีเดียว

เพียงแค่นี้ก็ช่วยให้เครื่องมันประหยัดไฟไปได้เยอะแล้ว