วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

ระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบต่อมไร้ท่อ
Endocrine system

ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมคู่ มีตำแหน่งอยู่แต่ละข้างของหลอดลมใกล้กับกล่องเสียง โดยทั่วไป
อาจจะมีเนื้อต่อมที่เป็นตัวเชื่อมกลีบทั้งสองข้างเข้าด้วยกันเรียกว่า isthmus ต่อมไทรอยด์แต่ละข้าง
จะมีเยื่อหุ้มเรียกว่า capsules ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มาหุ้มโดยรอบ ภายในจะมีส่วนยื่นเรียกว่า
septa หรือ trabecular ทำหน้าที่แบ่งเนื้อต่อมออกเป็นกลีบเล็กๆ เพื่อเป็นทางผ่านของเส้นเลือด
เส้นประสาทและเส้นน้ำเหลือง แต่ละกลีบของเนื้อต่อมไทรอยด์ประกอบด้วยเซลล์เดี่ยวๆเรียงกัน
เป็นรูปวงกลมหรือรูปไข่เรียกว่า ฟอร์ลิเคิล (follicle หรือ acini) ซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดของต่อม ทำ
หน้าที่สังเคราะห์และหลั่งฮอร์โมนไทร๊อกซิน (thyroxin) รอบๆฟอร์ลิเคิลจะมีเส้นเลือดฝอยแทรก
อยู่ทั่วไป เซลล์เดี่ยวๆที่ประกอบเป็นฟอร์ลิเคิลจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากเซลล์รูปลูกบากศ์
(cuboidal) เป็นเซลล์รูปสี่เหลี่ยมทรงสูงหรือรูปแท่ง (columnar) ในขณะที่เซลล์กำลังทำหน้าที่
หลั่งฮอร์โมน การสังเคราะห์ฮอร์โมนจะเกิดขึ้นในเซลล์ แต่หลังจากสังเคราะห์แล้วจะเก็บสะสม
ฮอร์โมนไว้ในช่องว่างของฟอร์ลิเคิล

ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มี 2 ชนิดคือ ไทร๊อกซิน(thyroxin) หรือ tetraiodothyronin (T4 )
และ triiodothyronine (T3) ฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้จะมีธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่ง
ได้มาจากอาหารในรูปไอโอไดด์ (iodide,I-) iodide จากอาหารที่มากับเลือดโดยเกาะมากับโปรตีน
ในเลือด (protein bound iodine)จะเข้าสู่ต่อมไทรอยด์โดยเซลล์เดี่ยวๆที่ประกอบเป็นฟอร์ลิเคิลจะ
ดึง iodide ไว้ ภายในฟอร์ลิเคิล iodide จะถูกเปลี่ยนให้เป็นไอโอดีน (iodine)โดยขบวนการออกซิ
เดชั่น ธาตุไอโอดีนจะไปเกาะกับกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) ทำให้เกิดเป็นสารประกอบพวก
MIT (monoiodothyronine) หรือ DIT (diiodothyrinine) จากนั้นจึงเกิดการรวมตัวกันของ MIT กับ
DIT หรือ DIT กับ DIT ได้เป็น triiodothyronine หรือ thyroxin ซึ่งจะถูกนำไปเก็บสะสมไว้ที่
colloid ตรงช่องว่างของฟอร์ลิเคิล โดยจะอยู่รวมกับโปรตีนไทโรโกลบูลลิน (thyroglobulin) เมื่อ
ได้รับการกระตุ้นจาก TSH (thyroid stimulating hormone) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ฟอร์ลิเคิล
จะหลั่งฮอร์โมนออกมาจากช่องว่างเพื่อเข้าสู่กระแสเลือด โดยจะหลั่งออกมาพร้อมกับไทโรโกลบู
ลิน เรียกว่า thyroid binding globulin ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ต่างๆเช่นมีผลต่อเมตาโบ
ลิซึมของโภชนะเช่นคาร์โบไฮเดรท โดยจะมีผลเพิ่มการดูดซึมของกลูโคสที่ผนังลำไส้ และเพิ่มการ
เปลี่ยนสารอื่นให้เป็นกลูโคสโดยผ่านขบวนการ gluconeogenesis ทำให้มีปริมาณกลูโคสที่จะ
นำไปใช้ประโยชน์ในเซลล์ต่างๆของร่างกายเพิ่มมากขึ้น การหลั่งไทร๊อกซินมากจะทำให้เกิด

ปริมาณน้ำตาลสูงในเลือด (hyperglycemia) และมีผลทำให้มีการขับปัสสาวะที่มีน้ำตาลในปริมาณ
สูงด้วย (glucouria) มีผลต่อเมตาโบลิซึมของไขมัน โดยการเพิ่มการสร้างเนื้อเยื่อไขมัน เพื่อนำ
ไขมันมาใช้เป็นแหล่งพลังงานในร่างกาย สภาวะนี้จะเกิดขึ้นได้มากถ้าสัตว์ขาดแหล่งคาร์โบไฮเดรท
ในอาหารมีผลต่อขบวนการเมตาโบลิซึมของโปรตีน ในการหลั่งไทร๊อกซินในระดับปกติจะมีผลให้
เกิดการสังเคราะห์โปรตีนในร่างกายเพิ่มขึ้น แต่ถ้าฮอร์โมนหลั่งออกมามากกว่าปกติจะมีผลให้เกิด
การสลายตัวของโปรตีนในกล้ามเนื้อได้ เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นให้เซลล์มีการใช้ออกซิเจนมากขึ้น
หรือเพิ่ม BMR (basal metabolic rate) โดยเฉพาะในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ตับ ไต ตับอ่อน และ
ต่อมน้ำลาย มีผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาร่างกายในสัตว์ปกติ โดยจะทำงานร่วมกับ GH
เกี่ยวข้องกับการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย โดยการเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ และการทำงาน
ของระบบประสาท sympathetic ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดเพื่อลดอัตราการสูญเสียความ
ร้อนออกจากร่างกายมีผลต่อการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วน
ต่างๆของร่างกายเพิ่มมากขึ้น
กลไกในการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ จะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนจาก
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และสมองส่วนไฮโปธาลามัส การหลั่งฮอร์โมนจะเป็นแบบการควบคุมแบบ
ยับยั้งย้อนกลับ (negative feed back) โดย TSH จะถูกยับยั้งให้หลั่งน้อยลงเมื่อระดับความเข้มข้น
ของฮอร์โมนไทร๊อกซินในเลือดเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้การหลั่ง TSH ยังถูกควบคุมโดย TRH จาก
สมองส่วนไฮโปธาลามัส ทั้งนี้รวมถึงระดับไอโอไดด์ในเลือดด้วย

ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland)
ต่อมพาราไทรอยด์เป็นต่อมที่อยู่ใกล้กับต่อมไทรอยด์ จำนวนและตำแหน่งของต่อมจะ
แตกต่างกันไปตามชนิดของสัตว์ สัตว์บางชนิดต่อมพาราไทรอยด์จะยังคงติดอยู่กับเนื้อของต่อม
ไทรอยด์ เช่นม้า แต่ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง และสุกร ต่อมพาราไทรอยด์จะมีตำแหน่งอยู่ด้านหน้าของ
ต่อมไทรอยด์ เนื้อของต่อมพาราไทรอยด์จะประกอบด้วยเซลล์ 2 ประเภทคือ chief cell และ
oxyphil cell เซลล์ส่วนใหญ่ของต่อมพาราไทรอยด์คือ chief cell ทำหน้าที่ในการหลั่ง
parathyroid hormone (PTH) เป็นฮอร์โมนพวกเปปไทด์ มีกรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบประมาณ
84 ตัว อวัยวะเป้าหมายคือ กระดูก ไต และระบบทางเดินอาหาร ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์ มี
หน้าที่โดยตรงต่อกระดูก ทำให้กระดูกปลดปล่อย Ca++ ออกมา ทำให้ Ca++ ในเลือดเพิ่มขึ้น การ
ปลดปล่อย Ca++ ของกระดูกจะมีผลให้มีการปลดปล่อย PO4
- ด้วย ทำให้เลือดเกิดสภาวะ
hypercalcemia และ hyperphosphatemia นอกจากนี้ยังทำให้มีการดูดซึม Ca++ ที่ลำไส้เล็ก โดย
เพิ่ม 1,25-dihydroxycholecalciferol และมีผลต่อการเพิ่มการดูดซึมกลับของ Ca++ ในส่วนของ
หลอดไตส่วนปลาย (distal convoluted tubule) ทำให้ Ca++ ที่ปนมากับปัสสาวะลดลงเกิดสภาวะ
hypocalciuria แต่จะไปเพิ่มการขับออกของ PO4
- ที่หลอดไตมีผลให้ระดับ PO4
- ในเลือดลดลง
กลไกการควบคุมการหลั่ง PTH เป็นกลไกแบบยับยั้งย้อนกลับ โดยใช้ระดับความเข้มข้น
ของ Ca++ในเลือด เมื่อ Ca++ ในเลือดสูงขึ้นจะมีผลให้ PTH หลั่งลดลง แต่เมื่อ Ca++ ลดลง PTH จะ
หลั่งออกมามากขึ้น โดยทั่วไปการทำงานของ PTH จะทำงานร่วมกันกับฮอร์โมนแคลซิโทนิน
(calcitonin) จากต่อมไทรอยด์
ฮอร์โมนแคลซิโทนิน (calcitonin) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจาก C- cell (parafollicular cell) ที่
อยู่ข้างๆฟอร์ลิเคิลในต่อมไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนประเภทโพลิเปปไทด์ มีหน้าที่ในการควบคุมระดับ
แคลเซี่ยมในเลือดเช่นเดียวกับฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์ แต่จะทำงานเมื่อระดับของCa++ ใน
เลือดสูงกว่าปกติ โดยไปยับยั้งการสลายตัวของกระดูกโดยเซลล์ osteoblastsและการดูดซึม Ca++
โดยเซลล์ osteoclast นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการเพิ่มการดูดซึมของโมเลกุลน้ำและเกลือแร่ใน
ปัสสาวะเช่น Na+ ,Ca++ , PO4
- และลดการหลั่งของ HCl ในน้ำย่อย ที่กระเพาะอาหาร
กลไกในการควบคุมการทำงานของแคลซิโทนิน เกิดจากระดับ Ca++ ในเลือดที่สูงขึ้น จะมี
ผลให้ฮอร์โมนแคลซิโทนินถูกหลั่งอกมาจาก C-cell ของต่อมไทรอยด์มากขึ้น โดยไม่ผ่านสมอง
ส่วนไฮโปธาลามัสและต่อมใต้สมอง

อ่านทั้งหมด