ในส่วนของ Settings จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนของ Personal, System และ Connections
-
Settings: Personal
ส่วนของ Buttons นั้นจะเป็นการปรับเปลี่ยน Hardware Buttons ทั้งสี่ปุ่มให้เรียกเปิดโปรแกรมตามที่เราต้องการ ในกรณีที่เราอาจจะมีโปรแกรมหนึ่งโปรแกรมใดที่เปิดเรียกใช้บ่อยเป็นพิเศษ เราก็สามารถที่จะเข้ามากำหนดในส่วนนี้ได้
ส่วนของ Input จะเป็นส่วนที่เรากำหนดค่าให้กับการใส่ข้อมูลโดยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ในส่วนของ Keyboard, Transcriber หรือแม้กระทั่งในส่วนของการใส่ข้อมูลภาษาไทย นอกจากนี้ เรายังสามารถเข้าไปกำหนดค่าเกี่ยวกับคำศัพท์แนะนำ (Suggested Words) หรือในส่วนของความละเอียดในการบันทึกข้อมูลด้วยเสียงได้
ส่วนของ Menus จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนก็คือ Start Menu และ New Menu
Start Menu จะเป็นส่วนที่กำหนดโปรแกรมให้อยู่ในส่วนของ Start Menu ซึ่งเราสามารถเลือกโปรแกรมให้แสดงในส่วน Start Menu ได้มากสุด 9 โปรแกรม
New Menu จะเป็นการกำหนดให้ปุ่ม New เปิดไฟล์ขึ้นมาใหม่สำหรับโปรแกรมที่เราได้เลือกไว้ (ปุ่ม New จะอยู่ด้านล่างซ้ายมือในส่วนของ Today)
ส่วนของ Owner Information จะเป็นส่วนที่กำหนดรายละเอียดของเจ้าของเครื่อง ก็คือรายละเอียดของตัวเรานั่นเอง เรายังสามารถกำหนดให้ส่วนนี้แสดงขึ้นมาทุกครั้งที่เปิดเครื่องได้ เผื่อว่าในกรณีที่เราลืมเครื่องทิ้งไว้ จะได้มีผู้มีจิตศรัทธาสามารถนำเครื่องมาคืนให้กับเราได้ถูกต้องครับ
ส่วน Password จะเป็นระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อเรากำหนดระยะเวลาที่เครื่องถูกทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้งาน พร้อมทั้งกำหนด Password เอาไว้ เมื่อถึงเวลาที่กำหนด เครื่องก็จะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัยทันที เมื่อเราต้องการจะใช้เครื่องอีกครั้ง ก็ต้องใส่ Password ที่เราตั้งเอาไว้ให้ถูกต้อง
ส่วนของ Sounds & Notifications จะเป็นการกำหนดเกี่ยวกับเสียงของระบบ ไม่ว่าจะเป็นความดัง, รายละเอียดของส่วนที่ต้องการให้ระบบเสียงทำงาน หรือการปรับลักษณะของเสียงต่างๆ ตามหน้าที่ของระบบ
ส่วนของ Today จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Appearance และ Items
Appearance: จะเป็นการกำหนด Background หรือ Theme ให้กับส่วนของ Today
Items: จะเป็นการกำหนดรายละเอียดต่างๆ ที่เราต้องการให้ปรากฎอยู่ในหน้าจอ Today
Settings: System
| |
ในส่วนของ About จะเป็นส่วนที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับ Version, Device ID และ Copyrights ซึ่งเราสามารถที่จะกำหนดชื่อการ Sync ได้จากส่วนของ About (Device ID) ด้วย
ในส่วนของ Asset Viewer จะเป็นส่วนที่บอกรายละเอียดต่างๆ ของเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น Identity, Memory, Version, Display, System หรือ Bluetooth ก็ตาม
ในส่วนของ Backlight จะแบบออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ
Battery Power: เราสามารถที่จะเข้าไปกำหนดระยะเวลาสำหรับการทำงานของ Backlight รวมถึงการตั้งค่าให้ Backlight ทำงาน เมื่อมีการสัมผัสที่หน้าจอ
External Power: การกำหนดค่าต่างๆ ในส่วนนี้จะเหมือนกับ Battery Power เลย เพียงแต่ว่าการกำหนดค่าต่างๆ ในส่วนนี้ จะมีผลก็ต่อเมื่อเครื่อง Pocket PC ของเรากำลัง Charge ไฟอยู่บน Cradle
Brightness: การกำหนดความสว่างให้กับเครื่อง Pocket PC เมื่อเครื่องอยู่นอกสถานที่ หรือ Charge ไฟ อยู่บน Cradle
ในส่วนของ Bluetooth จะมี Tab ให้เรากำหนดค่าต่างๆ มากมาย แต่ก็ขอพูดถึงที่สำคัญ 3 Tab ก็คือ
Accessibility: เราสามารถที่จะกำหนดชื่อ Pocket PC ได้ เมื่อเครื่องของคนอื่นใช้ Bluetooth ค้นหาเจอเครื่องของเรา ชื่อนี้ก็จะไปปรากฎบนหน้าจอของเครื่องที่ค้นหาเราอยู่ เพราะหากเราไม่ได้เปลี่ยนชื่อตรงนี้แล้ว อาจจะทำให้คนที่ค้นหาสับสนได้ง่ายๆ ว่าเครื่องไหนเป็นของใคร เพราะตาม Default แล้วจะใช้เป็นชื่อ Pocket_PC ทุกเครื่อง เท่าที่สังเกตจากงาน Meeting หลายครั้งที่เพื่อนๆ ไม่ได้เปลี่ยนชื่อตรงนี้ เวลาที่ใช้ Bluetooth เพื่อค้นหาเครื่องที่เราต้องการ ชื่อ Pocket_PC จะปรากฎขึ้นมามากมาย จนทำให้เกิดความสับสนได้ ดังนั้น เราควรที่จะตั้งชื่อของเราไว้นะครับ
File Transfer: เป็นการกำหนด Folder สำหรับที่จะเก็บไฟล์ต่างๆ ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนทาง Bluetooth
Information Exchange: เป็นการกำหนด Business Card สำหรับการแลกเปลี่ยนผ่านทาง Bluetooth
ส่วนของ ClearType Tuner จะเป็นการกำหนดความคมชัดของตัวอักษร เมื่อเลือกคำสั่งนี้แล้ว เราจะต้องไปติ๊กคำสั่ง Enable ClearType ในส่วนของ Screen ด้วยเพื่อเปิดให้เครื่องสามารถใช้คำสั่ง ClearType Tuner นี้
ส่วนของ Clock นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
Time: จะเป็นการตั้งเวลาท้องถิ่น (Home) และเมืองที่เราจะเดินทาง (Visiting) ประโยชน์ก็คือ เราสามารถที่จะสลับไปมาระหว่างเวลาของทั้งสองเมืองได้อย่างง่ายดาย
Alarms: เป็นการตั้งเวลาเตือน ซึ่งเราสามารถเลือกที่จะตั้งเตือนได้หลายวันพร้อมกันภายในหนึ่งสัปดาห์
ในส่วนของ iPAQ Audio จะเป็นการกำหนดเสียงทุ้มเสียงแหลมให้กับ Headphone ดังนั้นในกรณีที่เราใช้ฟังเพลงจากลำโพงที่มากับเครื่องแล้ว เราไม่ควรที่จะปรับเสียงทุ้มเสียงแหลมให้มากเกินไป ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจจะทำให้ลำโพงจากเครื่องเสียหายได้ง่ายๆ นอกจากนี้แล้ว เรายังสามารถกำหนดค่าต่างๆ ให้กับ Microphone ได้จากส่วนนี้อีกด้วย
ปุ่ม iTask ค่อนข้างจะเป็นปุ่มอัจฉริยะเลยทีเดียว เพราะเพียงปุ่มนี้ปุ่มเดียว เราสามารถที่จะเลือกเปิดโปรแกรมต่างๆ ได้ ในส่วนของ iTask Settings นั้น เราสามารถที่จะกำหนดได้ว่า เราต้องให้โปรแกรมไหนให้แสดงอยู่ในส่วนใดใน 3 ส่วน เพื่อที่เราสามารถจะเรียกโปรแกรมต่างๆ ขึ้นมาได้ง่ายๆ จากปุ่ม iTask นี้
ในส่วนของ Memory จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
Main: จะเป็นส่วนที่แสดงถึง Memory ซึ่งตาม Default แล้ว Memory ของเครื่องจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน คือ ส่วนที่ไว้เก็บโปรแกรม (Storage) กับส่วนที่ไว้สำหรับการทำงานของเครื่อง (Program) ซึ่งถ้าในส่วนของ Program เหลือหน่วยความจำน้อย ก็อาจจะทำให้เครื่องทำงานได้ช้า หรืออาจจะทำให้เครื่องแฮงค์ง่าย ดังนั้น ถ้าโปรแกรมส่วนมากถูก Install ไว้ใน Memory Card แล้ว เราอาจจะเลื่อนแถบนี้ให้ส่วนของ Program มีหน่วยความจำมากขึ้นก็ได้ จะช่วยให้การทำงานของเครื่องเร็วขึ้น
Storage Card: จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยความจำของ Memory Card ที่เราใช้อยู่
Running Programs: จะเป็นส่วนที่แสดงรายชื่อโปรแกรมที่ถูกเปิดใช้งานอยู่ เราสามารถที่จะปิดโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานได้จากหน้าต่างนี้
ส่วนของ Power จะเป็นส่วนที่แสดงถึงแถบสถานะของ Battery และเป็นส่วนที่เราสามารถกำหนดระยะเวลาให้เครื่องปิดเองโดยอัตโนมัติ
ในส่วนของ Regional Settings จะเป็นการกำหนดค่าต่างๆ ที่จะให้แสดงผลบนเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของภาษา, ตัวเลข, ค่าเงิน, เวลา และวัน
ส่วน Remove Programs คือส่วนที่ใช้สำหรับการ Uninstall โปรแกรมที่เราไม่ต้องการใช้งานออกจากเครื่อง
ส่วนของ Screen จะทำหน้าที่ 2 อย่าง อย่างแรกได้กล่าวไปแล้วก็คือ การเลือกคำสั่ง Enable ClearType เพื่อให้เครื่องทำงานในส่วนของ ClearType Tuner ที่เราได้กำหนดค่าไว้ และหน้าที่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การปรับค่าความแม่นยำให้กับหน้าจอ ในกรณีที่เราใช้เครื่องไปนานๆ แล้ว และรู้สึกว่า การ Tap ที่หน้าจอนั้นคลาดเคลื่อนหรือไม่แม่นยำ เราก็สามารถที่จะมาตั้งค่าใหม่ได้จากส่วนของ Align Screen
Settings: Connections
|
ในส่วนนี้จะเป็นการกำหนดให้เครื่องสามารถที่จะรับสัญญาณ Infrared จากเครื่องอื่นๆ
ในส่วนของ Connections จะเป็นการกำหนดค่าสำหรับการเชื่อมต่อเครื่อง Pocket PC กับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ รูปตัวอย่างเป็นการกำหนดค่าสำหรับการเชื่อมต่อเครื่อง Pocket PC กับโทรศัพท์มือถือที่มีระบบ GPRS โดยผ่าน Bluetooth ซึ่งเราสามารถจะเซ็ตค่าได้อย่างง่ายๆ ดังนี้
กำหนดชื่อสำหรับ Connections และเลือกหัวข้อ Bluetooth Dialup Modem
ใส่หมายเลขโทรศัพท์สำหรับ GPRS นั่นก็คือ *99***1# ซึ่งใช้ได้สำหรับเครื่องของ AIS และ DTAC
ส่วนของ User name และ Password ให้เว้นว่างเอาไว้
กำหนด Server Address ดังรูป คือ 202.183.255.20 และ 202.183.255.21
และนี่ก็เป็นรายละเอียดคร่าวๆ สำหรับการกำหนดค่าให้กับเครื่อง Pocket PC ของเราก่อนที่จะเริ่มต้นการใช้งาน ซึ่งประโยชน์ของ Settings ก็คือ เราสามารถที่จะกำหนดค่าให้เครื่อง Pocket PC เหมาะสมกับการใช้งานของเราให้มากที่สุดครับ